โครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยสามัคคี ๖๐ ปี สยามบรมราชกุมารี สดุดีทั่วไทย” ศาลจังหวัดสงขลา
หลักการและเหตุผล
เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ อันเป็นปีมหามงคลยิ่งนี้ ศาลยุติธรรมมีนโยบายในการส่งเสริมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อให้คู่ความได้มีโอกาสเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้นด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม โดยมีผู้ประนีประนอมทั้งบุคลากรในศาลและบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความสามารถและผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ช่วยเหลือคู่ความให้สามารถเจรจากันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและยุติข้อพิพาทให้แก่คู่ความ ตลอดจนการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ด้านไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชน โดยมอบหมายให้สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรมร่วมกับศาลยุติธรรมทั่วประเทศในการรณรงค์ และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรและหน่วยงานศาลต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการจัดโครงการดังกล่าว ศาลจังหวัดสงขลาจึงได้จัดทำโครงการ “ร่วมใจไกล่เกลี่ยสามัคคี ๖๐ ปี สยามบรมราชกุมารี สดุดีทั่วไทย” ขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของคู่ความในการยุติข้อพิพาท โดยการ
ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
๒. เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในสังคม ก่อให้เกิดความปรองดอง
และสมานฉันท์ รู้รักสามัคคี และมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม
๓. เพื่อให้ประชาชนผู้มีอรรถคดีในศาลได้มีทางเลือกในการยุติข้อพิพาทด้วย
ความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรม
๔ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
เป้าหมาย
๑. จำนวนคดีแพ่งที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕ ของ
คดีแพ่งในแต่ละเดือนที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ศาลดำเนินการอยู่เป็นปกติ
๒. คดีแพ่งสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕ ของคดีที่เข้าสู่
กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
๓. จำนวนคดีอาญาที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐
ของคดีอาญาในแต่ละเดือนที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ศาลดำเนินการอยู่เป็นปกติ
๔. คดีอาญาสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของคดีที่เข้าสู่
กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
๕. จำนวนคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลสูง เข้าสู่กระบวนการ
ไกล่เกลี่ยไม่น้อยกว่า ๓ คดี และมีผลสำเร็จไม่น้อยกว่า ๒ คดี
๖. ความพึงพอใจของคู่ความหรือประชาชนที่มาใช้บริการ ที่มีต่อการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และการทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของ
ผู้มาใช้บริการทั้งหมด
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ประเภทกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ การรณรงค์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยดำเนินการไกล่เกลี่ย ดังนี้
- มีจำนวนคดีแพ่งที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓๕
- คดีแพ่งสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๕
- มีจำนวนคดีอาญาที่ดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐
- คดีอาญาสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
- มีจำนวนคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลสูงเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย
ไม่น้อยกว่า ๓ คดี และมีผลสำเร็จไม่น้อยกว่า ๒ คดี
-ความพึงพอใจของคู่ความหรือประชาชนที่มาใช้บริการที่มีต่อการปฏิบัติงาน
ของ เจ้าหน้าที่และการทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐
กิจกรรมที่ ๒ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการร่วมใจไกล่เกลี่ย ดำเนินการดังนี้
- จัดพิธีเปิดโครงการร่วมใจไกล่เกลี่ยสามัคคี ๖๐ ปี สยามบรมราชกุมารี สดุดีทั่วไป ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสงขลา และศาลแขวงสงขลา ในวันจันทร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ โดยนายเฉลิมชัย ศรีเลิศชัยพานิช อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๙ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ
- จัดพิธีเปิดนิทรรศการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในวันจันทร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๘ โดยนายเฉลิมชัย ศรีเลิศชัยพานิช อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๙ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฯ
- จัดกิจกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ประนีประนอมประจำศาล
- ประชาสัมพันธ์งานไกล่เกลี่ยฯโดยติดป้ายไวนิลที่หน้าศาล
- ประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย
- ประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็ปไซต์ของศาล
- แจกแผ่นพับ
งบประมาณ
สำนักงานศาลยุติธรรมจัดสรรงบประมาณ จำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท
แสดงความคิดเห็น