
เรือนจำกลางสงขลา เดิมมีชื่อว่า " เรือนจำสงขลา " ปรากฏตามหลักฐานว่า มีการก่อสร้างเรือนจำมาตั้งแต่ พ.ศ. 2479 เดิมตั้งอยู่ที่ ถนนไทรบุรี ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (ระหว่างกำแพงเมืองสงขลากับวัดดอนรักหรือวัดใต้) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น " เรือนจำเขตสงขลา" ( เมื่อ พ.ศ. 2500 )
เมื่อบ้านเมืองเจริญเป็นเหตุให้เรือนจำต้องอยู่ในท่ามกลางชุมชน เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยประกอบกับ สถานที่คับแคบ ไม่สามารถรองรับจำนวนผู้ต้องขังที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นเพื่อปรับปรุงสถานที่รองรับการควบคุมผู้ต้องขังในเขตภาคใต้ ตอนล่าง กรมราชทัณฑ์จึงจัดสร้างเรือนจำแห่งใหม่ ณ บ้านสวนตูล ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้ใช้พื้นที่ ดังกล่าวเป็นเรือนจำชั่วคราว ให้ผู้ต้องขังที่โทษคงเหลือน้อย ออกมาทำงานการเกษตร เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2480 การก่อสร้างเรือนจำกลางสงขลา ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปี ระหว่างพ.ศ. 2515 -2516 และได้เปิดทำการตั้งแต่ พ.ศ. 2517มาจนถึง ปัจจุบัน
อดีตถึงปัจจุบัน
ข้อมูลปัจจุบัน เรือนจำกลางสงขลา ตั้งอยู่ที่เลขที่ 163 หมู่ที่ 4 ถนนสงขลา-นาทวี ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา อยู่ติดเขารูปช้างทางด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่ทังหมด 215 ไร่ แบ่งเป็นภายในเรือนจำ 35 ไร่ ภายนอกเรือนจำ 180 ไร่ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2479 จนถึงปัจจุบัน เรือนจำสงขลา, เรือนจำเขตสงขลา และเรือนจำกลางสงขลามี ผู้บัญชาการเรือนจำ ตามรายชื่อต่อไปนี้
ผู้บัญชาการเรือนจำสงขลา
หลวงวินิจทัณฑกรรม ผบก.เรือนจำสงขลา บิดาของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี | พลเอกเปรม ติณสูลานนท์และญาติ ถ่ายหน้าบ้านพะทำมะรง เรือนจำสงขลา |
1. หลวงวินิจทัณฑกรรม 2479 - 2481 (เป็นพะทำมะรง คนสุดท้าย และเป็นผู้บัญชาการเรือนจำคนแรกของสงขลา )
2. ขุนอนุรักษ์ทัณฑกรรม 2481 - 2483
3. ขุนสฤษดิอักษรศาสตร์ 2483 - 2483
4. ขุนประเสริฐราชวินิจ 2484 - 2485
5. ร.ต. สุข ลาดประเสริฐ 25 มิย. 2485 - 7 กย. 2486
6. นายชม ญาณหาญ 8 กย. 2486 - 26 มิย.24947. นายทอง สุดออมสิน 27 มิย.2494 - 30 มิย.2495
9.นายสะอาด แย้มกลิ่น 1 มค. 2500 - 1 กค. 2500
หมายเหตุ “ พะทำมะรง” เป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการ กรมราชทัณฑ์ที่มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ควบคู่กับตำแหน่งพัศดี ปรากฏหลักฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 จึงได้ถูกยกเลิกไป ( “พะทำมะรง” เป็นคำเก่าที่มักจะเขียนผิดเป็นคำอื่น เช่น พะธำมะรงค์ พะทำมรงค์ )
ผู้บัญชาการเรือนจำเขตสงขลา
1. นายสะอาด แย้มกลิ่น 2 กค. 2500 - 30 พย. 2500
2. นายเชาว์ เจริญพงศ์ 1 ธค. 2500 - 31 ธค. 2503
3. รท.ปัญจะ มัธยมจันทร์ 1 มค. 2504 - 30 กย. 2506
4. นายสุพันธ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา 1 ตค. 2506 - 1 ตค. 2515
ผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลา
1. นายสุพันธ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา 2 ตค. 2515 - 30 กย. 2519 | 2. นายจรัญ เตชะปัญญา 1 ตค. 2519 - 30 กย. 2521 |
3. นายสมบูรณ์ ศิริลักษณ์ 1 ตค. 2521 - 30 กย. 2525 | 4. นายประมวล งามไตรไร 1 ตค. 2525 - 1 พค. 2535 |
5. นายสนิทวงศ์ มณีสว่างวงศ์ 2 พค. 2535 - 18 ตค. 2538 | 6. นายรักษ์ ศิกษมัต 19 ตค. 2538 - 22 ตค. 2541 |
7. นายขจัดภัย บัวกระจาย 23 ตค. 2541 - 30 กย. 2543 | 8. นายชลิต ประจงกิจ 1 ตค. 2543 - 15 มิย. 2546 |
9. นายชุตินันท์ เพ็ชร์เจริญ 16 มิย. 2546 - 13 ตค.2548 | 10. นายอภิชาติ ขุนเทพ 14 ตค. 2548 - 22 พย. 2549 |
11. นายสุพจน์ สุวรรณทิพย์ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการเรือนจำ 23 พย.2549 - 8 มีค.2550 | 12. นายณรงค์ ยงณรงค์เดชกุล ผบก.เรือนจำกลางสงขลา 9 มีค.2550 - 19 ก.ค. 2553 |
13.นายอุดม คุ่ยณรา ผบก.เรือนจำกลางสงขลา 20 ก.ค.2553 - 30 ก.ย. 2555 | 14. นายสุชิน ดำกรเด็น ผบก.เรือนจำกลางสงขลา 8 ต.ค. 2555 - ปัจจุบัน |
แสดงความคิดเห็น