

วันสารทเดือนสิบ จังหวัดสงขลา
ประเพณีบุญสาทรเดือนสิบ หรืองานชิงเปรต ของ คนสงขลา เป็นประเพณีที่ทำกันมาเป็นประจำทุกปี เป็นการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ที่จะกลับมาจากนรกในวันสารทเพื่อมารับบุญกุศลที่ลูกหลานทำไปให้และถือเป็นวันรวมญาติที่จะมาร่วมกันทำบุญกลับมาเยี่ยมบ้านอีกด้วย โดยการจัดอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด และที่ขาดไม่ได้คือ "หมับ" ที่จะต้องมีในการประกอบพิธีทำจากขนม 5 ชนิด โดยขนมแต่ละชนิดจะมีความหมายต่างกัน

1. ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ
2. ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาป
หรือเวรกรรมต่างๆ
3. ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า
4. ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ
5. ขนมกง หรือขนม ไข่ปลา เปรียบเสมือนเครื่องทรงหรือเครื่องประดับเพื่อให้ดูภูมิฐานและสวยงาม
โดย หมับ จะจัดเป็น 2 ชุด

ชุดหนึ่งเตรียมไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะนำไปบำเพ็ญ
ที่ศาลาวัด และอีกชุดสำหรับผู้เสียชีวิตที่ไม่มีญาติ หรือไม่มีใครทำบุญไปให้
โดยจะตั้งก่อนทางเข้าวัดซึ่งจะเรียกว่า "ตั้งเปรต" หลัง จากการบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้วผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเข้าแย่งอาหารที่เหลือ จากการบำเพ็ญกุศล โดยมีความเชื่อว่าของที่เหลือจากเปรตนี้ เป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะได้กุศลแรงและจะเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัวพิธีนี้ชาวสงขลา จะเรียกว่า
"ชิงเปรต" หรือการแย่งอาหารจากเปรต สนุกมากถ้ามีโอกาสลอง มา เที่ยวกันนะครับ
การตั้งเปรต
เสร็จ จากการฉลองหมฺรับและถวายภัตตาหารแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมอีกส่วนหนึ่งไปวางไว้ตามบริเวณลานวัด เพราะเขาเชื่อว่าคนพวกเป็นเปรตจะเข้าวัดไม่ได้ เลยเอาของที่ถวายวัดไปไว้ที่กำแพงวัด โคนไม้ใหญ่ เรียกว่า ตั้งเปรต เพื่อแผ่ส่วนกุศลเป็นทานแก่ผู้ล่วงลับที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่มาร่วมทำบุญให้ การชิงเปรตจะทำตอนตั้งเปรตเสร็จแล้ว เพราะเชื่อว่าถ้าหากใครได้กินของเหลือจากการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จะได้รับกุศลเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง

การตั้งเปรต
บาง วัดนิยมสร้างหลาเปรต เพื่อสะดวกแก่การตั้งเปรต บางวัดสร้างหลาเปรตไว้บนเสาสูงเพียงเสาเดียว เกลาและชะโลมน้ำมันเสาจนลื่น เมื่อเวลา ชิงเปรต ผู้ชนะคือผู้ที่สามารถปีนไปถึงหลาเปรตซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จึงสนุกสนานและตื่นเต้น

ชิงเปรต
ประเพณีสารทเดือนสิบมีสาระสำคัญหลายประการ ดังนี้
๑. เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ที่ได้อบรมเลี้ยงดูลูกหลาน เพื่อตอบแทนบุญคุณ ลูกหลานจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
๒. เป็นโอกาสได้รวมญาติที่อยู่ห่างไกล ได้พบปะทำบุญร่วมกันสร้างความรักใคร่สนิทสนมในหมู่ญาติ
๓. เป็นการทำบุญในโอกาสที่ได้รับผลผลิตทางการเกษตรที่เริ่มออกผลเพราะเชื่อว่าเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
๔. ฤดูฝนในภาคใต้จะเริ่มขึ้นในปลายเดือนสิบ พระภิกษุสงฆ์บิณฑบาตยากลำบาก ชาวบ้านจึงจัดเสบียงอาหารนำไปถวายพระในรูปของหฺมฺรับ ให้ทางวัดได้เก็บรักษาเป็นเสบียงสำหรับพระภิกษุสงฆ์ในฤดูฝน
ข้าพเจ้าคิดว่าประเพณีควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมประเพณีนี้ที่ภาคใต้ *_*


แสดงความคิดเห็น